Ads 468x60px

This is default featured slide 3 title

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam, quis nostrud exercitation test link ullamco laboris nisi ut aliquip ex ea commodo consequat

This is default featured slide 4 title

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam, quis nostrud exercitation test link ullamco laboris nisi ut aliquip ex ea commodo consequat

This is default featured slide 5 title

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam, quis nostrud exercitation test link ullamco laboris nisi ut aliquip ex ea commodo consequat

Tuesday, November 20, 2012

เมื่อต้องเดินทางไกล ต้องเช็ครถอย่างไรบ้าง



เพื่อให้การเดินทางไกลไปในช่วงเทศกาลด้วยรถยนต์สวนตัวไม่ว่าจะเป็นการเดิน ทางท่องเที่ยว หรือกลับถิ่นฐานเดิมในต่างจังหวัด เป็นไปอย่างราบรื่นและมีความสุข ไม่ต้องมาปวดหัวกับปัญหารถเสียระหว่างการเดินทาง หรืออาจนำไปสู่อุบัติเหตุได้ ทั้งนี้ท่านสามารถป้องกันได้กับการตรวจเช็คด้วยตัวเอง และไม่เสียเวลามากนักก่อนเดินทาง จะช่วยให้มั่นใจในการขับขี่ หรือหากพบข้อบกพร่องก็สามารถแก้ไขก่อนเดินทาง สำหรับวิธีการตรวจเช็คเบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้

ตรวจรถภายนอก
1. ตรวจความดันลมยาง ดอกยาง และรอยฉีกขาด ตรวจดูว่าขันแน่นดี แต่ก็ไม่แน่นจนเกินไปจนคลายออกไม่ได้ด้วยตัวเอง
2. รอยรั่วซึม ตรวจดูว่ามีร่องรอยน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรค หรือ น้ำรั่วซึมจากใต้ท้องรถ
3. ยางปัดน้ำฝน ทดลองปัดดู
4. ไฟส่องสว่าง ตรวจดูไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเบรค ไฟเลี้ยวหรืออื่นๆรวมทั้งระดับไฟหน้าด้วยว่าเป็นปกติ

ตรวจภายในรถ
1. ยางอะไหล่และแม่แรง ตรวจเช็คลมยาง และให้แน่ใจว่าแม่แรงและด้ามขันใช้งานได้ตามปกติ
2. เข็มขัดนิรภัย ตรวจเช็คว่าหัวเข็มขัดสามารถลอ็คได้เรียบร้อย
3. แตร ให้แน่ใจว่าดังดี
4. แผงควบคุมและอุปกรณ์ ตรวจดูให้แน่ใจว่าทำงานเป็นปกติ และที่ปัดน้ำฝน ปัดได้เรียบร้อยสม่ำเสมอ
5. เบรก เช็คระยะฟรีขาเบรคอยู่ในค่ากำหนดหรือไม่
6. ฟิวส์สำรองที่เตรียมไว้ต้องมีขนาดค่ากระแสใช้ได้ตามที่กำหนดที่แผงฟิวส์

ตรวจใต้ฝากระโปรงหน้า
1. ระดับน้ำหล่อเย็น ควรจะมีอยู่ถึงระดับสูงสุดในถังพักสำรอง
2. หม้อน้ำและท่อยาง ควรดูว่าด้านหน้าหม้อน้ำหมดจดไม่มีเศษวัสดุ หรือใบไม้ติดอยู่ ดูท่อยางว่ามีรอยแยกเปื่อย มีรอยฉีกขาดหรือหลวม
3. สายพานขับต่างๆ ต้องไม่มีรอยแตก เลอะน้ำมันหล่อลื่น และความตึงสายพานอยู่ในค่ากำหนด
4. แบตเตอรี่ และสายไฟ ตรวจดูและเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับที่กำหนดดูเปลือกแบตเตอรี่ว่ามีร่องรอย เสียหายหรือไม่ ดูขั้วต่อและสายไฟว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่
5. ระดับน้ำมันเบรคและคลัชท์ ตรวจดูว่าระดับน้ำมันเบรคและคลัทช์อยู่ในระดับที่ถูกต้อง
6. ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจดูว่าท่อน้ำมันมีการรั่ว หลุดหรือไม่ โดยเฉพาะสมาชิกที่ติดแก็สอันนี้สำคัญมากๆ ครับ


ข้างต้นเป็นวิธีการตรวจเช็ครถยนต์แบบคราวๆ ก่อนการเดินทางไกลๆ แต่ความเป็นจริงแล้วเราควรตรวจเช็ครถยนต์ที่ท่านรักสม่ำเสมอ ดังนั้นลองมาศึกษาวิธีการตรวจสอบรถยนต์ง่ายๆ ด้วยตนเอง

1. ยางรถยนต์

ควรตรวจเช็คลมยาง และปรับแต่งให้ถูกต้องตามอัตราที่กำหนด หรือตามคำแนะนำ ในหนังสือคู่มือของรถยนต์เป็นประจำ
ในกรณีของยางใหม่ ให้เพิ่มความถี่ในการตรวจเช็คลมยาง ให้มากกว่าปกติ (ในช่วง 3,000 กม. แรก) เนื่องจากโครงสร้างยางในช่วงนี้ จะมีการขยายตัว ทำให้ความดันลมยางลดลงจากปกติได้
ห้ามปล่อยลมยางออก เมื่อความดันลมยางสูงขึ้นขณะกำลังใช้งาน เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน เป็นตัวทำให้ความดันลมภายในยางสูงขึ้น เมื่อยางเย็นตัวลง ความดันลมยางก็จะกลับสู่สภาวะปกติ
เพื่อป้องกันลมรั่วซึมที่วาล์ว ควรเปลี่ยนวาล์ว และแกนวาล์วทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่ และมีฝาปิดวาล์วตลอดเวลา

สำหรับยางอะไหล่ ให้ตรวจเช็คลมยางให้ถูกต้องทุกๆ เดือน
หากขับรถที่ ความเร็วสูง ควรเติมลมมากกว่าปกติ 3-5 ปอนด์ จะช่วยลดการบิดตัวของโครงยาง ทำให้เกิดความร้อนน้อยลง หรืออาจใช้การสังเกต จากที่ใช้งานทุกวัน และความชอบของผู้ขับรถเป็นเกณฑ์ โดยส่วนใหญ่ค่าเฉลี่ยของความดันลมยางของรถเก๋ง จะประมาณ 28-30 ปอนด์/ตารางนิ้ว ส่วนรถกระบะ จะประมาณ 35-40 ปอนด์/ตารางนิ้ว (ขับขี่ทั่วไปไม่บรรทุกหนัก)






2. ระดับของเหลวต่างๆของรถยนต์ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรค น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ น้ำฉีดกระจก น้ำกลั่นแบตเตอรี่ สามารถตรวจได้บ่อยครั้ง หรือสำหรับผู้ไม่มีเวลาควรตรวจอย่างน้อย 1ครั้ง ต่อ 1สัปดาห์

2.1 น้ำมันเครื่อง การตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง อุ่นเครื่องยนต์จนถึงอุณหภูมิทำงานแล้วดับเครื่องเช็คระดับน้ำมันเครื่องโดย ใช้ก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง
เพื่อให้การตรวจเช็คถูกต้อง รถควรอยู่ในแนวระดับเครื่องยังร้อน และทำการวัดหลังจากดับเครื่อง 2-3 นาทีเพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับลงด้านล่างก่อน
ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออก เช็คน้ำมันเครื่องที่ติดกับก้านวัดด้วยผ้า
เสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องคืนกลับจุดเดิม
ดึงก้านวัดออกมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องที่ปลายก้านวัด ถ้าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่าง " F " กับ " L " แสดงว่าระดับน้ำมันเครื่องปกติ

ข้อควรระวัง
- หลีกเลี่ยงการเติมน้ำมันเครื่องมากเกินไป เพราะอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
- ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องที่ก้านวัดอีกครั้งหลังเติมน้ำมันเครื่องลงไป










2.2 น้ำมันเกียร์

1. ตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์
2. ขับรถยนต์เป็นเวลา 15 นาที เพื่ออุ่นน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ


ข้อแนะนำ :
- เนื่องจากน้ำมันเกียร์อัตโนมัติจะขยายตัวเมื่อมันร้อน ดังนั้นให้ตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์หลังจากที่ได้ทำการอุ่นให้ร้อนแล้ว เนื่องจากโครงสร้างของเกียร์อัตโนมัติจะทำให้ปริมาณของน้ำมันเกียร์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
- สำหรับโคโรลล่า ให้ตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์เมื่ออุณหภูมิสูงถึง 70 - 80°C (158 - 176°F)

3. จอดรถในพื้นระดับและดึงเบรกมือ








4. ให้เครื่องยนต์เดินเบา, เหยียบเบรก, ดึงคันเบรกมือและเลื่อนคันเกียร์อย่างช้าๆ จากตำแหน่ง P ไปยังตำแหน่งอื่นๆ จนถึงตำแหน่งเกียร์ L และเลื่อนกลับไปยังตำแหน่งเกียร์ P อีกครั้งหนึ่ง
5. ดึงไม้วัดระดับน้ำมันออกมาขณะที่เครื่องยนต์เดินเบา, เช็ดคราบน้ำมันด้วยผ้าให้สะอาด เสียบไม้วัดระดับน้ำมันเข้าไปอีกครั้ง และตรวจสอบระดับน้ำมันต้องอยู่ช่วง "HOT"

ข้อแนะนำ:
- เมื่อขีดของน้ำมันด้านหลังของเกจวัดแตกต่างจากด้านหน้า ให้อ่านค่าต่ำสุด
- เมื่อระดับน้ำมันมากกว่าค่ากำหนด น้ำมันเกียร์อัตโนมัติอาจรั่วออกจากรูระบาย เป็นสาเหตุทำให้เกียร์กระตุก
- ถ้าระดับน้ำมันเกียร์ต่ำเกินไป อาจทำให้การหล่อลื่นไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดการเสียดสีของกลไกภายในเกียร์มาก

2.3 น้ำมันเบรค วิธีการตรวจเช็คระดับน้ำมันเบรคควรจะอยู่ระหว่าง MAX และ MIN แต่หมั่นเติมให้อยู่ในระดับ MAX ดีที่สุด
เทคนิค : เติมน้ำมันเบรคจนถึงเส้นไข่ปลาและเมื่อปิดฝา ระดับน้ำมันจะขึ้นถึงระดับที่ถูกต้อง
เครื่องมือ - อุปกรณ์ : ผ้าชุบน้ำผืนขนาดพอสมควร ใช้ปิดตัวถังรถ ด้านที่เติมน้ำมันเบรคเพื่อป้องกันการกระเด็นไปถูกตัวถังรถ



ข้อควรระวัง
- เติมน้ำมันเบรคให้ตรงกับระบบเบรคของรถหรือน้ำมันเบรคที่เคยใช้อยู่เท่านั้น แดง-แดง ใส-ใส
- น้ำมันเบรคเป็นอันตรายต่อดวงตาและทำลายสีรถ ระวังล้นหรือกระเด็น
- น้ำมันเบรกจะเสื่อมคุณภาพหากมีน้ำหรือความชื้นปนลงไป







2.4 น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ ท่านควรตรวจระดับน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ เดือนละครั้ง และ ตรวจระดับน้ำพวงมาลัยเพาเวอร์ ในขณะที่เครื่องเย็นโดยดูที่ด้านข้างของกระปุกน้ำมัน ระดับน้ำมันควรอยู่ที่ไม่เกินขีดระดับสูงสุด และระดับต่ำสุด ถ้าระดับน้ำมันอยู่ต่ำกว่าขีดสุด ให้เติมน้ำมันจนระดับอยู่ที่ขีดสูงสุด

ข้อควรระวัง
- เทน้ำมันช้าๆ และระวังอย่าทำน้ำมันหก ถ้าน้ำมันหกให้รีบทำความสะอาดทันที เพราะน้ำมันที่หกอาจทำความเสียหายแก่ส่วนประกอบอื่นในห้องเครื่องยนต์ได้
- ควรใช้น้ำมันยี่ห้อที่ดีตามโฆษณาทั่วไป
- การที่ระดับน้ำมันต่ำอาจเกิดจากการรั่วในระบบ ควรตรวจดูระดับน้ำมันและนำรถเข้ารับการตรวจสอบระบบพวงมาลัยเพาเวอร์โดยเร็ว
- การหมุนพวงมาลัยค้างไว้สุดทั้งด้านซ้ายหรือขวาอาจจะทำให้ระบบลูกยาง ท่อยาง ลูกยาง ลูกน้ำท่อยาง ที่เกี่ยวข้องกับระบบเพาเวอร์ ฉีกขาดหรือแตกได้ เนื่องจากการหมุนพวงมาลัยสุดทำให้แรงดันสูง

2.5 น้ำฉีดกระจก การเติมน้ำฉีดกระจกให้เติมในถังสีขาวให้เต็มหรือบางท่านอาจจะผสมแชมพู เพื่อให้กระจกใสมากขึ้น

ระดับน้ำในถังน้ำฉีดกระจกอยู่ในระดับต่ำหรือว่าไม่มีเลย : เมื่อตรวจพบว่าระดับน้ำพร่อง ควรเติมน้ำผสมกับน้ำยาทำความสะอาดกระจกลงไปเล็กน้อย จะช่วยทำความสะอาดได้ดีกว่าน้ำสะอาดเพียงอย่างเดียวนอกจากการตรวจระดับน้ำ แล้วควรที่จะตรวจสภาพของถังน้ำเองว่ารั่วหรือไม่ โดยการเติมน้ำลงไปทิ้งเวลาสักพักและค่อยกลับมาตรวจระดับน้ำอีกครั้งว่าพร่อง หรือลดลงมากเพียงใด เมื่อตรวจไม่พบรอยรั่ว แล้วค่อยลองฉีดน้ำล้างกระจกอีกครั้ง

สายยางน้ำฉีดกระจกหลุดหรือรอยฉีกขาด : วิธีตรวจเช็คคือมองไล่ตั้งแต่การลำเลียงน้ำจากถังน้ำผ่านมอเตอร์ปั้มน้ำที่ ติดอยู่กับถังน้ำมองไล่ตั้งแต่สายยางที่ออกจากถังน้ำไปจนถึงหัวฉีดซึ่งถ้าพบ ว่ามีส่วนใดขาดหรือหลุดควรทำการซ่อมแซม

หัวฉีดน้ำอุดตัน : อาจจะเกิดจากการที่มีฝุ่นละอองไปอุดตันหัวฉีดน้ำ วิธีที่ง่ายที่สุดคือการนำเข็ม หรือเหล็กแหลมที่สามารถแทงผ่านรูฉีดน้ำได้มาแทงผ่านรูฉีดน้ำเพื่อดันสิ่งที่ อุตันอยู่ให้หลุดออก พร้อมกับการตั้งระดับให้หัวฉีดสามารถฉีดน้ำพอดีกับกระจกไม่ต่ำหรือสูงเกินไป ส่วนถ้าใช้เหล็กแหลมทิ่มก็แล้วยังไม่หลุดต้องใช้มาตรการสุดท้ายคือการนำหัว ฉีดทั้งหัวไปต้มในน้ำร้อนเพื่อละลายคราบที่อุดตัน

มอเตอร์ที่ทำหน้าที่ปั้มน้ำจากถัง : ถ้าตรวจตั้งแต่รายการ 1-3 แล้วก็ยังฉีดน้ำล้างกระจกไม่ได้ โดยเฉพาะรถยนต์ที่มีหัวฉีด 2 ตัว และไม่สามารถฉีดน้ำได้ทั้ง 2 ตัวคงต้องพุ่งเป้าไปที่‘มอเตอร์ที่ทำหน้าที่ปั๊มน้ำจากถัง’ส่วนสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ปั้มน้ำเสียนอกจากว่าจะหมดอายุการใช้ หรือเกิดจากการใช้งานที่ผิดอย่างเช่นระดับน้ำในถังน้ำต่ำหรือแห้งแต่ผู้ใช้ ยังคงพยายามฉีดน้ำทำให้มอเตอร์ร้อนจัดและเสียในที่สุด หรือการฉีดน้ำเป็นเวลานานเกินกว่า 20 วินาทีบ่อยๆ จะทำให้มอเตอร์ร้อนจัดและมีอายุสั้นลง

2.6 น้ำกลั่นแบตเตอรี่
ควรตรวจดูระดับน้ำกลั่น ก่อนทำการชาร์จทุกครั้ง ว่าแห้งไปหรือไม่ การตรวจเช็คสามารถดูได้จาก ลูกลอยระดับลูกลอยที่ลอยขึ้นมา จะต้องมองเห็นบาร์สีขาวเล็กน้อย ( ถ้าแถบบาร์สีขาวสูงเกินไปให้ดูดน้ำกลั้นออก เพราะนั้นอาจจะทำให้นำกลั่นล้นได้ ในขณะที่ทำการชาร์จ)หากไม่มีฝาลูกลอย ให้ใช้วิธีเปิดฝาจุกแล้วดูว่าน้ำกลั่นในเซลล์แบตเตอรี่มึระดับสูงกว่าแผ่น ธาตุภายในประมาณ 1 เซ็นติเมตร (วัดระดับด้วยสายตาก็ได้ ไม่ต้องใช้ไม้บรรทัดไปทาบนะค่ะ) ถ้าน้อยกว่าก็ให้เติมน้ำกลั่นลงไปให้อยู่ระดับที่ประมาณ 1 เซ็นติเมตร ห้ามเติมมากๆนะ เพราะเดี๋ยวน้ำกลั่นมันจำล้น เหมือนดังที่กล่าวข้างตัน
ไม่ควรเติมน้ำหรือสิ่งอื่นใดลงไปในแบตเตอรี่ นอกจากน้ำกลั่น

ในขณะที่ทำการชาร์จไม่ควรมีประกายไฟ ในบริเวณที่ทำการชาร์จ เพราะจะทำให้แก๊สที่เกิดขึ้นขณะชาร์จติดไฟได้ สถานที่ชาร์จจะต้องเป็นที่ร่ม สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก
หลังการทำการชาร์จเรียบร้อยแล้ว ควรพักแบตเตอรี่ให้ระดับความร้อนของแบตเตอรี่ลดลงประมาณ 1ชั่วโมง จึงนำแบตเตอรี่มาใช้งาน

ควรรักษาความสะอาดขั้ว บนฝา และรอบๆให้สะอาดและแห้งอยู่ตลอดเวลา ถ้าส่วนบนของแบตเตอรี่สกปรกให้ใช้ผ้าชุดน้ำแล้วเช็ดให้สะอาด จะให้น้ำล้างก็ได้ แต่ต้องระวังไม่ให้นำเข้าไปในตัวแบตเตอรี่ ( ควรทำความสะอาดให้แบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่

ที่มา http://www.srdriving.com

Monday, November 19, 2012

รันอิน ( Run in) รถใหม่ดีไหม ต้องทำหรือเปล่า

   รถยนต์ เป็นสิ่งเป็นสิ่งที่มีมูลค่า รถสวยๆ มีมูลค่าพอๆ กับบ้านสวยๆ ใครก็ตามที่ตัดสินใจควักเงินซื้อรถมาเป็นสมบัติก็ย่อมอยาก ให้รถของตนเองมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และสิ่งที่มีผลโดยตรงกับอายุการใช้งานขอรถก็คือการบำรุงรักษารถอย่างถูกวิธีซึ่งมัน ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย เพียงแต่ เจ้าของรถต้องทำความเข้าใจ และดูแลมันเป็นพิเศษเท่านั้น 

         รถยนต์เกิดจากชิ้นส่วนต่างๆ ประกอบกันจนเป็นระบบกลไก ซึ่งแต่ละชื้นส่วนมีมาตรฐานในการผลิต แต่ไม่ได้เท่ากันหมด จึงจำเป็นต้องมีการเผื่อเหลือเผื่อขาดบ้าง ดังนั้นเมื่อชิ้นส่วนประกอบกันใหม่ๆ จึงอาจจะเกิดความฝืดของอุปกรณ์ รถยนต์ทุกคัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการ รันอิน ซึ่งก็คือ การใช้งานอย่างถูกวิธีเพื่อให้ชิ้นส่วนต่างๆเข้าที่ แต่บางครั้งบางคนอาจจะได้ ยินมาว่ารถสมัยใหม่ไม่ต้องการการรันอิน เพราะมีการรันอินมาจากโรงานแล้ว ความเข้าใจนี้อาจจะถูก แต่ไม่ใช่ทั้งหมดอย่าลืมว่า เครื่องยนต์เป็นเพียงระบบหนึ่งของรถเท่านั้น ยังมีระบบอื่นๆ อีก เช่น เกียร์ เบรค กันกระเทือน ซึ่งต้องการรันอินเช่นกัน 

โดยทั่วไปแล้ว การรันอินจะใช้ระยะทางประมาณ 2000 กิโลเมตร ซึ่งในช่วงเวลานี้ พวงมาลัยอาจจะฝืด เข้าเกียร์ยากเบรคแข็งกินน้ำมันมาก อาการเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะ ชิ้นส่วนต่างๆ กำลังประตัวเข้ากัน และท่านที่ทำการบำรุงรักษาช่วงนี้อย่างถูกวิธี จะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆทำงานเข้ากันอย่างสมบูรณ์ รถของท่านจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นและในทางกลับกัน ถ้าท่านทำ การทำการบำรุงรักษาในช่วงนี้ผิดวิธี อายุการใช้งานของรถท่านก็จะลดลงอย่างน่าเสียดาย 

ขอนำเสนอการรันอินอย่างถูกวิธี ซึ่งได้แยกออกเป็นข้อๆ ดังนี้ การรันอินระบบเครื่องยนต์ 
1. ในการสตาร์ทครั้งแรกหลังจากจอดรถมาเกินกว่า 6 ชั่วโมง อย่าเหยียบคันเร่งหลังเครื่องยนต์ติด ไฟสัญญาณเตือนต่างๆ ดับหมด ควรรอต่อสัก 10-15 วินาที ก่อนออกรถเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องยนต์ทำงาน และไม่เปิดแอร์โดยทันที ควรเคลื่อนรถให้วิ่งก่อนสัก 2-3 นาที จึงเปิดแอร์ 

2. ไม่ควรเร่งเครื่องอยู่กับที่ และไม่ควรขับโดยใช้รอบเดินเครื่องสูงกว่า 4000 รอบต่อวินาที 

3. อย่าออกรถอย่ารุนแรง

4. ในการเดินทางไกล ไม่ควรใช้ความเร็วรอบคงที่ติดต่อกันเกิน 5 นาที ควรเปลี่ยนใช้ความเร็วรอบเครื่องที่ต่างๆ กันแต่อย่าให้เกิน 4000 รอบ 

5. หลังจากการเดินทางไกล ก่อนดับเครื่องควรปล่อยให้เครื่องเดินเบาก่อนสัก 10-15 วินาที จึงดับเครื่อง และอย่าเร่งเครื่องก่อนดับ ดังที่คนส่วนใหญ่ทำกัน เพราะจะทำให้น้ำมันเบนซินไปค้าที่หัวลูกกระบอกสูบชะล้างเอาน้ำมันหล่อลื่นที่แหวนลูกสุบออก จะทำให้เกิดความเสียหายได้ 

6. อย่าเติมหัวเชื้อหรือน้ำมันอื่นๆ ลงในเครื่องยนต์เพราะเครื่องยนต์ช่วงนี้ยังต้องการให้ชิ้นส่วนต่างๆได้เสียดสีกัน เช่น แหวนกับกระบอกสูบ เพื่อการเข้าที่ของชิ้นส่วน การเติมหัวเชื้อ หรือน้ำมันที่ผิดจากโรงงาน จะทำให้ชิ้นส่วนเสียหายได้ 
7. หมั่นเช็คระดับน้ำมันเครื่อง และน้ำในหม้อน้ำทุกๆ สัปดาห์ 

การรันอินระบบครัตช์ 
1. ให้ยกเท้าจากคันครัตช์เมื่อไม่ได้ใช้งาน 
2. เวลาที่ต้องการจอดรถ ไม่ควรเหยียบครัตช์แช่ไว้ควรเข้าเกียร์ว่าง และยกเท้าออกจากครัตช์ 
3. อย่าใช้ครัตช์แทนเบรคในการชะลอรถ ยกเว้น ยกเว้นกรณีที่ขับรถลงเนินหรือเขา 
4. อย่าลากรถที่หนักกว่ารถท่าน หรือใหญ่กว่า 

*การรันอินระบบเฟืองท้าย และเกียร์ 1. อย่าเพิ่มหัวเชื้อน้ำมันใดๆ ลงในห้องเกียร์จนกว่าจะพ้นระยะรันอิน 
2. ในการเปลี่ยนจากเกียร์เดินหน้าเป็นเกียร์ถอยหลัง หรือในทางกลับกัน ต้องให้รถหยุดสนิทเสียก่อน 
3. ในการเข้าเกียร์ถอยหลัง หลังจากเหยียบครัตช์จนสุดแล้ว ให้รอถึง 2-3 วินาทีเพื่อให้ราวเกียร์หยุดสนิทจึงค่อยเข้าเกียร์ถอยหลัง 
4. ในการขับทางไกลควรพักรถประมาณ 5 นาที ทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อเป็นการลดความร้อนห้องเกียร์และเฟืองท้าย 
5. สำหรับเกียร์อัตโนมัติ มีข้อแนะนำเพิ่มเติมดังนี้ 

- ในขณะที่เข้าเกียร์จากเกียร์ว่างเป็นเกียร์เดินหน้าหรือถอยหลัง ควรเหยียบเบรคให้รถหยุดสนิท และเร่งเครื่องช้าๆ หลังจากเข้าเกียร์แล้ว 

- อย่าเข้าเกียร์ว่างขณะรถเคลื่อนที่ เพราะอาจจะทำให้ระบบเกียร์เสียหายเนื่องจากไม่มีน้ำมันความดันสูง 

การรันอินระบบเบรค 1. อย่าใช้เบรคอย่างรุนแรงถ้าไม่จำเป็น 
2. อย่าเบรคโดยการปั๊มเบรค 
3. ควรพักเบรคเป็นระยะๆ ถ้าใช้งานติดต่อกัน เช่นการลงเขา ควรยกเท้าออกสัก 1 วินาที หลังจากทุก 10 วินาที
ถ้าพบว่ามีเบรคมีประสิทธิภาพต่ำลงมาก ควรจอดรถทันทีห้ามดึงมือเบรค เพราะในขณะนี้จานเบรคจะร้อนและขยายตัว ถ้าดึงมือเบรคค้างไว้เมื่อจานเบรคเย็นจะหดตัวและรัดผ้าเบรคจนปลดเบรคมือไม่ได้ ในการลงเขานั้น ควรใช้การเปลี่ยนเกียร์เป็นเกียร์ต่ำช่วย 
4. ในการใช้งานในการใช้งาน ควรใช้เบรคมืออย่างสม่ำเสมอ เพราะการใช้เบรคมือเป็นการปรับระยะของผ้าเบรค 
5. ตรวจดูเบรคมือให้ปลดลงสุดก่อนการออกรถ ในการปลดเบรคหรือดึงเบรคมือควรกดปุ่มที่ปลายเพื่อป้องกันเฟืองสึกหรอ 
6. ควรตรวจเช็คระดับน้ำมันเบรคทุกๆ สัปดาห์ 

 การรันอินระบบพวงมาลัย และกันสะเทือน 
1. อย่าหมุนพวงมาลัยขณะรถอยู่กับที่โดยไม่จำเป็น 
2. อย่าขับรถข้ามทางรถไฟ หรือทางที่เป็นหลุม บ่อ เกินความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
3. อย่าบรรทุกของเกินพิกัดที่กำหนดไว้ในสมุดคู่มือ 
4. หมั่นตรวจลมยางทุกๆ 2 สัปดาห์ และก่อนเดินทางไกล 
5. จงหลีกเลี่ยงการขับทับเศษแก้ว และโลหะ 
6. อย่าออกรถ หรือเบรคอย่างรุนแรงจนยางเสียหาย 

การรันอินระบบไฟฟ้า 1. ตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นของแบตตารี่ทุกๆ สัปดาห์ ระวังอย่าเติมน้ำกลั่นจรเกินกำหนด
2. อย่าสตาร์ทเครื่องซ้ำขณะเครื่องยนต์กำลังทำงาน 
3. ทดลองใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง เช่น ไล่ฟ้ากระจกหลัง กระจกไฟฟ้า หรืออื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ 
4. หมั่นสังเกตไฟเตือน และเกจ์วัดต่างๆ ว่าทำงานผิดปกติหรือไม่ 

การรันอินตัวถังและภายใน 
1. อย่าจอดรถใต้ต้นไม่ เพราะนอกจากนกจะถ่ายรดแล้ว ยางของไม้ยังเป็นตัวการทำลายสีรถ 
2. อย่าให้ไฟกลางเก๋งทำงานเกิน 5 นาที เพราะความร้อนจะทำความเสียหายได้ ถ้าต้องเปิดประตูทิ้งไว้ควรปิด
สวิทซ์ไฟเก๋ง 
3. ในการปิดประตู อย่ากระแทกประตูแรงๆ ควรใช้การดึง หรือดันเข้า 
4. ไม่ควรจอดรถทิ้งไว้หลังจากล้างเสร็จใหม่ๆ แต่ควรออกวิ่งเพื่อให้น้าที่ขังตามซอกมุมต่างๆแห้งสนิท 

* อื่นๆ ทั่วไป 1. ควรศึกษาการใช้งานรถและอุปกรณ์ต่างๆ จากคู่มือประจำรถ 
2. ในกรณีที่ต้องติดอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติม ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ของศูนย์เสียก่อน เพื่อป้องกันความเสียหาย 
3. ควรมีสมุดบันทึกเล็กๆ เก็บไว้ในรถเพื่อใช้บันทึกความผิดปกติที่ท่านสังเกตเห็น เพื่อแจ้งช่างอย่างครบถ้วน 
4. จงปิดวิทยุแล้ววิ่งรถ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อฟังเสียงผิดปรกติของเครื่องยนต์ 
5. เมื่อถึงกำหนดเช็คระยะ อย่าลืมนำรถเข้ารับบริการ 

แม้เทคโนโลยีด้านโลหะวิทยาจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เครื่องยนต์ในยุคปัจจุบันมีความทนทานมากขึ้น แต่ก็ไม่ควรละเลยการรัน-อิน อย่างถูกวิธี เพราะมีผลต่ออายุการใช้งานของรถในระยะยาว
       
       รถยนต์ใหม่ทุกคันต้องมี ระยะ รัน-อิน หมายถึง การใช้งานในระยะแรกอย่างถูกวิธี เพื่อให้ทุกชิ้นส่วนมีการปรับสภาพได้อย่างเหมาะสม การใช้งานแบบเต็มกำลังตั้งแต่แรก ทำให้มีการสึกหรอสูงและรวดเร็วมาก เพราะชิ้นส่วนต่างๆยังไม่เข้าที่ เพียงแต่ในปัจจุบันนี้ได้ลดระยะทางในการรัน-อินจากแต่ก่อนมากแล้ว

++อดใจสักนิด อย่าเพิ่งลากรอบ++
       
       ระยะทาง 0-1,000 กิโลเมตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้รอบเครื่องยนต์เกิน 2,500 - 3,000 รอบ/นาที หรือเปลี่ยนความเร็วรอบขึ้น-ลงแบบกระทันหันโดยไม่จำเป็น การเปลี่ยนจากเกียร์ต่ำขึ้นสู่เกียร์สูง ควรทำอย่างนิ่มนวลที่ระดับ 2,500 รอบ/นาที แล้วถอนคลัตช์ช้าๆ ส่วนการเปลี่ยนจากเกียร์สูงลงสู่เกียร์ต่ำ เพราะต้องการใช้เกียร์สัมพันธ์กับความเร็ว ไม่ควรเปลี่ยนลงเกียร์ต่ำ เพราะต้องการใช้เกียร์และเครื่องยนต์ช่วยเบรก ถ้าต้องการเบรกให้เหยียบเบรกตามปกติ ในช่วง 0 - 5,000 กิโลเมตร ไม่ควรใช้รอบเครื่องยนต์เกิน 4,000 รอบ/นาที
       
       เมื่อถึงระยะ 1,000 กิโลเมตร ให้ถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองทิ้งท้าย เพื่อเอาเศษสกปรกที่หลุดจากชิ้นส่วนต่างๆและปะปนอยู่ในน้ำมันออก(แม้บางศูนย์บริการจะไม่ระบุไว้ก็ตาม)

++รถยนต์ป้ายแดงกับการเดินทางไกล++
       
       การเดินทางไกลกับรถยนต์ใหม่ สามารถทำได้ แต่ต้องใช้เทคนิคและความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ยังไม่พ้นระยะรัน-อิน การเดินทางไกลกับการใช้รอบเครื่องยนต์ในรถยนต์ใหม่ อาจมีความเข้าใจผิดในหลายกรณี โดยเฉพาะในเรื่องความเร็ว ผู้ใช้ส่วนหนึ่งคิดว่า ในเมื่อเดินทางไกลมักใช้ความเร็วสูง แล้วจะควบคุมรอบเครื่องยนต์ได้อย่างไร เพราะถ้าขับเร็วก็น่าจะต้องใช้รอบสูงด้วย แต่ความจริงไมได้เป็นเช่นนั้น
       
       การขับด้วยรอบเครื่องยนต์ระดับปานกลาง ก็สามารถไต่ขึ้นสู่ความเร็วตามกฎหมายกำหนดได้ รถยนต์ส่วนใหญ่ในความเร็วระดับ 90 - 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในเกียร์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติมักใช้รอบเครื่องยนต์ประมาณ 2,500 - 3,000 รอบ / นาที เท่านั้น ซึ่งไม่สูงเกินไป การเดินทางไกลมีข้อดี คือ สามารถขับได้อย่างนุ่มนวล และควบคุมรอบเครื่องยนต์ได้ตามต้องการ แต่ไม่ควรขับแช่ที่ความเร็วเดียวกันต่อเนื่องนานๆ ควรเปลี่ยนแปลงความเร็วบ้าง โดยอาจสลับด้วยกาสรผ่อนความเร็วลงเล็กน้อย
       
       สำหรับกรณีคับขัน เช่น ต้องเร่งแซงหลบหลีก ก็สามารถกดคันเร่งได้เลย ไม่ต้องเน้นรักษารอบเครื่องยนต์มากเกินไป จนขาดความปลอดภัยหรือถูกชน
       
       ++อย่าไว้ใจ.....แม้เป็นป้ายแดง++
       
       รถยนต์ส่วนใหญ่มักมีการผลิตครั้งละเป็นจำนวนมากๆ แม้มีการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด ก็ยังอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้นเจ้าของรถป้ายแดงจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ หมั่นตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ถ้าพบความผิดปกติจะได้เคลมก่อนหมดประกัน

ขอบคุณ กรมขนส่งทหารอากาศ

ต้องทำอย่างไร เมื่อต้องไปถอยรถป้ายแดง


 ผ่านนาทีระทึกใจกันมานาน กว่าจะได้เป็นเจ้าของรถใหม่ๆ ป้ายแดงกันสักคัน เมื่อถึงวันรับรถ ก็เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นยินดี หลายๆ คนเหมากันไปหมดทั้งครอบครัว ว่ากันว่าวันที่รับรถป้ายแดง ก็เหมือนกับการแต่งงาน ใช่ครับ ชีวิตเพิ่งจะเริ่มต้นกันตอนนี้เองครับอยากจะให้เจ้าของรถ ซึ่งหมายถึงผู้ที่จะต้องใช้มันจริงๆ จังๆ เป็นประจำ (ไม่ใช่ผู้จ่ายเงิน) ก่อนที่จะลงนามในเอกสารเพื่อรับรถ ตรวจตาดูรถให้เรียบร้อย จริงๆ อย่าเพิ่งไปกังวลเรื่องของแจก ของแถม อย่าไปกังวลเรื่อง ที่รับรถไปแล้วจะตกแต่งให้ถูกอก ถูกใจอย่างไร ขอให้เป็นเรื่องของทีหลังดีกว่าครับ การตรวจรับรถในช่วงตอนนี้ เป็นตอนที่ต้องทำอย่างละเอียดถี่ถ้วน พูดง่ายๆ ส่องกล้องตรวจได้ก็ตรวจ แต่ตรวจดูในสิ่งที่อาจจะบกพร่อง ไม่ใช่ตรวจดูเพื่อที่จะจับผิด และก็อยากจะให้ทำใจไว้ด้วยว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้ ที่จะสมบูรณ์ไปทั้งหมด

           1.เริ่มกันตั้งแต่สี รอบๆ คันรถเลยครับ รอยขนแมว รอยผิวเปลือกส้ม ร่องรอยของการหลุดกระเทาะตามจุดต่างๆ โดยทั่วๆ ไปแล้ว ถ้าฝ่ายขายของรถยี่ห้ออะไรก็ตาม มีเจตนาที่บริสุทธิ์ เชื่อมั่นในคุณภาพของรถ ไม่ว่าจะเป็น ผลิตจากที่ใด การส่งมอบรถให้กับลูกค้า เขาจะกระทำกันในที่ที่มีแสงสว่าง มองเห็นตัวรถได้ทุกด้าน ทุกมุมเพราะฉะนั้น เมื่อวันที่คุณไปรับรถจากที่ใดก็ตาม ถ้ารถคันนั้นถูกจัดให้จอดอยู่ตามซอกตามมุม มีแสงสว่างไม่ชัดเจนที่จะมองเห็นตัวรถได้ทุกจุด ทุกมุม ขอให้สงสัยไว้ในใจ ก่อนเลยว่า น่าจะมีอะไรผิดปกติกับรถคันนั้น ใครจะว่าขี้สงสัย ขี้หวาดระแวง ก็ช่างเขา เพราะเงินของเรา (แม้ว่าบางครั้งจะได้มาฟรีๆ ก็ตามเถอะ) เมื่อตรวจตราดูทุกซอกทุกมุมจากภายนอกแล้ว ก็เปิดประตูทุกบาน ฝากระโปรงหน้า ฝากระโปรงหลัง ไล่ตรวจทุกจุด จะเสียเวลาไปบ้างก็ช่างมัน ดีกว่ามาทะเลาะกันทีหลัง อาจจะเมื่อยขา ปวดหลังเพราะต้องก้มๆ เงยๆ ก็ต้องทนเอา อีกสักพักใหญ่ๆ ก็จะได้นั่งขับกันให้หายอยาก

           2.ในขณะนี้ ที่ตรวจสอบตามซอกตามมุมอยู่นั้น ถ้าบริเวณนั้นอากาศปลอดโล่ง มีการถ่ายเทอย่างดี ก็ติดเครื่อง เปิดแอร์ทิ้งไว้ เพราะในขณะที่ใช้สายตาตรวจดูตามจุดต่างๆ หูก็จะได้ฟังเสียงเครื่องยนต์ เสียงท่อไอเสียไปด้วย ฟังดูว่ามีเสียงอะไรที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นมาบ้างหรือเปล่าเมื่อตรวจดูตามขอบตามซอกตามมุมหมดแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องรีบดับเครื่องเข้าไปนั่งในรถ ในตำแหน่งที่ต้องนั่งขับประจำ เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก เหยียบคลัทช์ เหมือนเช่นที่ขับรถปกติว่ามีอะไรผิดแผกแตกต่างจากที่เคยขับหรือไม่หลังจากนั้น ก็ทดสอบทดลองสวิตช์ปุ่มควบคุมทั้งหลายแหล่ประดามีว่าทุกอย่างทำงานตามที่โฆษณาเอาไว้หรือไม่ และมีอะไรที่ขาดหายไปจากที่ตกลงกันไว้ตอนวางเงินจอง เงินมัดจำ ก็ไล่เรียงเอากันเสียตอนนี้ สวิตช์ควบคุมคันบังคับทั้งหลายแหล่ ถ้าไม่เข้าใจวิธีการใช้งานกันตอนนี้ ก็ถาม ถามให้เข้าใจทะลุปรุโปร่ง ถ้าหากทุกอย่างเป็นที่พอใจ ก็ต้องทำกันถึงฎีกาคือ ทดลองขับ ไม่ต้องไกลมากมายนัก รอบ ๆ โชว์รูมก็น่าจะเพียงพอแล้ว

           3.เมื่อทุกอย่างหมายถึงตัวรถทั้งภายนอก ภายในเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นเรื่องของการตรวจสอบเงื่อนไขของการบริการหลังการขาย พร้อมทั้งการรับประกันสินค้า (Warranty) เพราะหลายยี่ห้อข้อความโฆษณาตามสื่อต่างๆ นั้น มีเพียงเพื่อชวนเชื่อให้น่าซื้อ แต่เมื่อซื้อจริงๆ แล้วต้องทบทวนตรวจทานซักถาม สอบถามกันให้ถึงแก่น ถึงเรื่องที่จะได้ และเรื่องที่จะเสีย ไม่เช่นนั้น อาจจะมีการหมกเม็ดให้ช้ำใจได้

           4.เมื่อเป็นที่พอใจแล้ว ก็เรื่องของสัญญาการคุ้มครองอุบัติเหตุ หรือการประกันภัย ซึ่งค่าเบี้ยประกันในยุคนี้ ไม่ใช่ถูกๆ บริษัทที่รับประกันนั้น น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด โดนกันมาหลายรายแล้ว เรื่องซ่อมห้าง ประกันชั้นหนึ่ง แต่ชิ้นส่วนที่นำมาเปลี่ยนให้เป็นของเชียงกง ครับ คงจะหมดเรื่องกันเท่านี้ สำหรับขั้นตอนการซื้อขาย เชื่อเถอะครับ รับรองได้ว่าเซลส์ที่ขายรถให้คุณนั้น จะยืนนั่งอย่างกระสับกระส่ายอยู่ข้างๆ คุณ และอาจจะ (แอบ) ถอนหายใจเมื่อคุณลงลายมือชื่อรับรถเป็นที่เรียบร้อยนั่นหมดหน้าที่ของพนักงานขายไปแล้ว และเขาก็ไม่รู้จักคุณอีกต่อไป จนกว่าคุณอยากจะเปลี่ยนรถใหม่ แต่ภาระหน้าที่ของคุณยังไม่หมดครับ

           5.ก่อนออกจากโชว์รูม ก็ควรจะทำความรู้จักกับผู้รับผิดชอบฝ่ายบริการ ซึ่งคุณต้องฝากชีวิต (คุณภาพของการซ่อมบำรุง) ฝากความเป็นอยู่ (ราคาของค่าบริการ) ไว้กับเขาจนกว่าคุณจะเลิกใช้รถ สงสัยอะไรที่ทางฝ่ายขายชี้แจง ไม่กระจ่าง ก็ซักถามเอากับฝ่ายบริการได้ ตอนนี้ (เพราะคุณขับป้ายแดง) เช่นเมื่อไฟเตือนถุงลมนิรภัยโชว์ขึ้นในขณะขับรถ คุณควรจะทำอย่างไร ไฟเตือนระบบ ABS โชว์ขึ้น จะยังสามารถขับรถต่อไปได้ไหม เมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้น เมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนถุงลม (Air Bag) จำเป็นต้องเปลี่ยนตัวควบคุมด้วยหรือไม่ และถ้าไม่เกิดอุบัติเหตุอะไรเลย ถุงลมมีอายุการใช้งานเท่าใด สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ควรจะทราบไว้ เพราะเป็นเรื่องที่จะต้องเสียค่าใช้จ่าย และขึ้นอยู่กับความปลอดภัยของคุณด้วย ก็ขอให้มีความสุขกับรถใหม่ป้ายแดงครับ

ที่มาจาก : chuansin.con

ต้องทำอย่างไร เมื่ออยากได้รถใหม่สักคัน


ขั้นตอนการซื้อรถยนต์ใหม่ป้ายแดง


รถยนต์เป็นสิ่งที่เกือบทุกคนอยากจะมีไว้ใช้ แต่ทว่าราคาของมันไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถซื้อได้ บางคนเก็บเงินหลายปีกว่าจะซื้อได้ ดังนั้น เราควรจะต้องมีความรู้เรื่องนี้พอสมควร ไม่ควรรีบร้อน ผมเป็นคนหนึ่งที่ซื้อรถยนต์ป้ายแดงครั้งแรก มันก็ไม่ราบรื่นอย่างที่คิดไว้ เจอหลายๆอย่างจึงอยากแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อให้ทุกคนได้รถอย่างที่ตัวเองหวังไว้ เริ่มต้นเลยนะครับ

1.     การเลือกรถที่คุณต้องการ ควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นหรือถามผู้รู้และความต้องการของเรา ว่าเราขอบอะไร เพื่ออะไร   
  • ยี่ห้อรถยนต์ เข้าเวบของยี่ห้อนั้นดูข้อมูล เรื่องการให้บริการ ศูนย์บริการ ข่าวไม่ดีต่างๆ
  • รุ่นรถ รุ่นที่เราชอบ option ต่างๆ ของแต่ละรุ่น ความจำเป็นในการใช้งาน
  • สีรถ สีที่ชอบและดวงตามความเชื่อ เดี๋ยวจะต้องมาเสียเวลาติดสติกเกอร์รถสีต่างๆเพิ่มอีก
  • ราคา เราควรประเมินตัวเราเองว่า เราสามารถจ่ายได้ขนาดไหน เมื่อซื้อรถจะมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายหรือเปล่า อย่าฟังคนอื่นมาก ฟังหูไว้หู เพราะยังไงเวลาเรามีปัญาเรื่องการเงินคงไม่มีใครมาช่วยจ่าย
2.     การเลือกศูนย์บริการที่คุณต้องการเข้าไปซื้อรถ ควรเลือกศูนย์ที่ไว้ใจได้นะครับ เพราะเราต้องอยู่กับศูนย์นั้นหลายปีทีเดียว ขอย้ำว่าหลายปี หากเลือกผิดเราจะช้ำใจไปเลยครับ และจะทำอะไรเกี่ยวกับรถก็ลำบากไปหมด เราจะรู้ได้ยังไงว่าเป็นศูนย์ที่เราต้องการ ลองพิจารณาตามนี้ดูนะครับ 
  • เป็นตัวแทนจากยี่ห้อรถยนต์ที่เราต้องการจะซื้อ
  • ประวัติของศูนย์ครับ ต้องถามข้อมูลจากคนรอบข้างที่เคยไปใช้บริการ หรือข่าวลือต่างๆ ครับ บางศูนย์เห็นเราเข้าไปเหมือนพระเจ้า บางศูนย์เห็นเราเข้าไปเหมือนขอทาน บางศูนย์เจ้าของเป็นผู้มีอิทธิพล (เวลาเรามีปัญหาหลังจากซื้อรถไป เซลแมนจะเอามาขู่เราด้วยเลือกศูนย์ที่มีประวัติดีนะครับ มีคนชมมากกว่าคนด่า ต่อให้ตั้งศูนย์ใหม่แต่เจ้าของคนเดิม ทีมงานเดิม การบริการก็ยังห่วยเหมือนเดิมครับ
  • ศูนย์บริการใกล้บ้านครับ สะดวกต่อการติดต่อ ประหยัดน้ำมัน
3.     การเลือกเซลแมน ขั้นตอนนี้สำคัญมากกว่าการเลือกศูนย์บริการนะครับ เพราะหากเจอเซลที่ดี เซลจะเป็นเหมือนที่ปรึกษาเรื่องรถที่ดีสำหรับคุณที่เดียวและคุณจะได้รถตามที่คุณหวัง แต่หากเจอเซลแย่คุณจะโดนโกงสารพัดวิธีที่เดียว เซลแมนคือที่คอยให้คำแนะนำเรื่องรถ ทำสัญญา เตรียมรถให้เรา แต่ที่สำคัญที่สุด เค้าจะต้องขายรถให้เราเพื่อทำกำไรให้ทางบริษัท และค่าคอมมิสชัน กำไรจากส่วนอื่นๆ ที่เราพลาดเผลอไปยอมรับโดยไม่ระวังซึ่งสำคัญกว่าบริการเราซะอีก แล้วเราจะเลือกยังไง 
  • ถ้าเซลเป็นญาติพี่น้องที่ดีต่อเรา จะดีมากเค้าคงเลือกสิ่งดีๆให้พี่น้องกันโดยไม่หวังผลกำไรมากอยู่แล้ว
  • เพื่อนพี่น้อง แนะนำเซลให้ แสดงว่าคนคนนั้นเคยใช้บริการมาแล้ว เซลคงรักษามาตรฐานการให้บริการที่ดีทุกคน
  • ใช้น้ำเสียงการให้บริการฟังแล้วรู้สึกสบายใจ แต่หากฟังแล้วขัดหูหรือไม่สบายใจเปลี่ยนคนเถอะ
  • ขั้นตอนการอธิบายรถ อธิบายแล้วเราเข้าใจ ถามอะไรสามารถตอบได้
  • อย่าเลือกเพียงเพราะหน้าตา หรือเพราะพูดเพราะ ให้จำสุภาษิตนี้ไว้เลยครับ หน้าเนื้อใจเสือปากหวานก้นเปรี้ยว การเลือกเซลแมน
4.     เรื่องของแถม ดูสิว่าเซลให้ของแถมไรเราบ้าง เช่น 
  • น้ำมันเต็มถัง
  • ส่วนลดเงินสด
  • เบาะหนัง
  • ฟิล์มรอบคัน ยี้ห้ออะไร ประกันกี่ปี ติดรุ่นไหนได้บ้าง ราคาที่ติดได้เท่าไร ติดที่ไหน
  • เคลือบสี+กันสนิม ทำฟรีทุกครั้ง หรือเสียตังค์แต่ละครั้งเท่าไร
  • ประกันภัยชั้น ฟรีหรือเปล่า
  • Sensor ถอยหลัง หรือ จุด ไม่ได้ติดจากโรงงาน ต้องถามว่าซื้อของอะไร ติดตั้งที่ไหน รับประกันกี่ปี ซ่อมที่ไหน
  • อุปกรณ์แต่งรถ เช่น สปอร์ยเลอร์ กระจังหน้า คิ้วกันสาด สเกิร์ตรอบคัน คิ้วบันไดสแตนเลส ต้องถามว่าซื้อของอะไร ของศูนย์ ของร้าน หรือของแท้ ติดตั้งที่ไหน ส่วนใหญ่เค้าจะแถมของที่ซื้อจากร้าน
  • ของอื่นๆ เช่น ผ้าคลุมรถ หมอนผ้าห่ม พรมปูพื้น สายรองเบลท์ อุปกรณ์ฉุกเฉิน ผ้ายางปูพื้น ถาดหลังกันเปื้อน น้ำหอม ชุดทำความสะอาด ที่ล๊อคพวกมาลัย หมอนผ้าห่ม ม่านบังแดด ฯลฯ ผมได้ครบเกือบทุกอย่างตามที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น ทำไมเค้าถึงให้ผมเยอะขนาดนี้ มันมีเหตุครับ รับรองเซลเค้าได้มากกว่าที่เสียให้ผม
5.     ถามเรื่องประกันภัยชั้น 1 ที่เค้าให้เรานะครับ ไม่ว่าจะแถมให้ฟรี หรือเราเสียตังค์เอง มันมีส่วนสำคัญมากครับ และรถใหม่ทุกคันที่ผ่อนจะต้องทำครับ เราควรจะถามข้อมูลอะไรบ้างเกี่ยวกับประกันจากเซล หากเซลตอบไม่ได้ หรือเราไม่เข้าใจ ก็อย่าเพิ่งจองนะครับ ให้เราเข้าใจก่อน
  • เป็นของบริษัทอะไร น่าเชื่อถือหรือเปล่า ใกล้เจ้งไหม
  • บริษัทประกันนั้นมีข่าวไม่ดีจากลูกค้าหรือเปล่า เช่น บริการไม่ดี บริการช้า
  • ซ่อมศูนย์ หรือซ๋อมอู่ ถึงจะเป็นประกันชั้น แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถซ่อมได้ทุกที่ เพราะราคาการซ่อมที่ประกันสามารถจ่ายได้บางศูนย์หรือบางอู่ก็รับไม่ได้ อย่างกรณีผม มีศูนย์ยี่ห้อ A 2 ที่แถวบ้าน แต่ที่หนึ่งรับเคลมไม่ต้องจ่ายเพิ่ม แต่อีกที่เมื่อไปเคลมจะมีส่วนต่างที่เราต้องจ่ายเพิ่มเอง แต่ศูนย์ที่รับเคลมที่ไม่มีส่วนต่างรอคิวซ่อมนานเป็นเดือนๆ เราต้องรู้ก่อนเพื่อไม่เสียความรู้สึกภายหลัง
  • ข้อควรรู้สำหรับมือใหม่ หากรถเราเสียหายโดยไม่มีคู่กรณีเราต้องจ่ายประกันเริ่มต้น1000 บาท แต่หากมีคู่กรณี คู่กรณีจ่ายครับซ่อมฟรี แต่เสียเวลา
6.     ถามเรื่องการทำสินเชื่อ หากเราไม่ได้ซื้อเงินสด ควรถามเรื่องนี้กับเซลด้วยนะครับ เพราะเราต้องทำ สัญญาเช่าซื้อกับธนาคารนั้น สิ่งที่เราควรรู้คือ 
  • บริษัทหรือธนาคารอะไร
  • ดอกเบี้ยเท่าไร
  • จำเป็นต้องมีประกันวงเงินสินเชื่อหรือเปล่า
  • ตอนนี้ก็ลองให้เซลคิดเรื่องเงินเรื่องทองให้ดูเลยนะครับ ว่ามีค่าใช้จ่ายวันรับรถอะไรบ้าง โดยของผมทั้งหมดมันจะมีตามข้างล่าง เงินที่เราจะทำสัญญาเช่าซื้อคือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด-เงินจอง-เงินดาวว์ ครับ  
  • ค่ารถยนต์รุ่นที่เราจอง
  • ค่าจดทะเบียน
  • ค่ามัดจำป้ายแดง
  • ค่าประกันภัยชั้น 1
  • พ.ร.บ.
  • ค่าตกแต่ง
  • ค่าประกันภัยวงเงินสินเชื่อ
7.     การจองรถยนต์ ขั้นตอนนี้เราเริ่มที่จะเสียเงินแล้วนะครับ หากเราพอใจกับตัวรถยนต์รุ่นที่เราต้องการ ของแถมที่เซลจะจัดให้ นิสัยและคำอธิบายของเซล เรื่องประกันชั้น เราก็จองรถเลยครับ แต่หากเรายังรู้สึกลังแลก็อย่าเพิ่งจองนะครับ มันไม่ทำให้เซลเสียเวลาหรอกครับ เพราะรถที่เราจะซื้อไม่ใช่คันละบาทสองบาท ไปนอนคิดที่บ้านดีกว่าครับ คราวนี้มีคำถามว่าทำไมต้องจอง เนื่องจากรถมีราคาแพงดังนั้นหากไม่มี Order โรงงานก็จะไม่ผลิตรถมาขาย ดังนั้นเมื่อเราจองรถ เซลจะเก็บหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อไปใช้ประกอบการส่งข้อมูลให้โรงงานผลิตรถยนต์ รถที่ผลิตออกมาคันนั้นจะผลิตตามรุ่นและสี ตามที่เราจองไปทุกประการ หากทำมาแล้วไม่ตรง เรามีสิทธิที่จะไม่เอาและขอค่าจองคืนได้  มีข้อแนะนำดังนี้ 
  • อย่าลืมขอใบเสร็จหรือสัญญาการจอง
  • สัญญาการจองต้องระบุรุ่นและสีของรถที่เราต้องการให้ถูกต้อง
  • สัญญาการจองต้องเขียนของแถมทุกอย่างให้ครบอย่าบอกปากเปล่า
  • ตอนนี้ถามเลยครับว่ารถจะมาเมื่อไร และจะติดต่อกลับเราวันไหนระบุให้ชัดเจนเขียนลงในสัญญาเลยครับ
  • หากเราละเอียดมากๆ แล้วถ้าเซลงอแง หรือแกล้งลืมๆ ไม่จด เราก็บอกไปเลยครับว่ายังไม่จอง อย่ารีบร้อนนะครับ รถไม่ใช่ถูกๆ
  • หลังจากจองเสร็จก็รอ หากเซลโทรมาเปลี่ยนแปลงเรื่องของแถมก็แล้วแต่เราว่ารับได้ไหม รับไม่ได้ก็ขอเงินจองคืน
8.     การตรวจรับรถป้ายแดง แล้วก็ถึงเวลาที่รถเรามาถึง บางที่หากเราติดฟิล์มหรือไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติม เซลจะโทรให้ไปรับรถเลย แต่หากเรามีการตกแต่งที่ไม่ได้ทำมาจากโรงงาน เซลจะให้ไปดูรถและตรวจรถที่มาจาโรงงาน ยังไงก็ตามเราควรทำหารตรวจรับรถที่มาจากโรงงานก่อนเริ่มเลยนะครับ 
  • ควรพาผู้เชียวชาญเรื่องรถยนต์ สี และพวกจับผิดเรื่องรถยนต์เก่งๆ เพราะเรามือใหม่
  • มีแบบฟอร์มการตรวจตาม link นี้เลยครับ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=53788 และควรจะค่อยตรวจที่ละขั้นอย่างละเอียด โดยให้คนที่พาไปด้วยช่วยเราดู อย่าแย่งกันดูนะครับ เดี๋ยวจะเช็คไม่ครบ อย่ากลัวว่าเราจะงี่เง่า รถราคาแพงครับ
  • ขอดูเอกสารที่รถลงถึงอู่ ว่าวันที่เท่าไร ช่างตรวจรับหรือยัง เค้าจะเรียกว่าใบ Warranty Bosket ครับ หากไม่มี ค่อยมาตรวจใหม่วันหลัง
  • สำคัญมาก อย่าลืมจดหมายเลขเครื่องเอาไว้ด้วยนะครับ ว่ารถคันนี้เราเช็คแล้ว
  • ข้อตกลงเรื่องการติดตั้งของอื่นๆ เพิ่มเติม ของแถมตามสัญญาการจองเช่น 
    • ติดฟิล์ม
    • สปอร์ยเลอร์ กระจังหน้า คิ้วกันสาด สเกิร์ตรอบคัน คิ้วบันไดสแตนเลส
    • Sensor ถอยหลัง
    • เบาะหนัง 
  • พวกนี้ต้องรอเช็คอีกรอบวันรับรถ หากติดตั้งเสร็จแล้วให้ตรวจดูความเรียบร้อยดังนี้  
    • ติดฟิล์ม  ขอดูใบติดตั้ง ใบรับประกันเขียนถูกต้องเหรือเปล่า มีฟองอากาศหรือเปล่า
    • สปอร์ยเลอร์ กระจังหน้า คิ้วกันสาด สเกิร์ตรอบคัน คิ้วบันไดสแตนเลส การติดตั้งเรียบร้อยหรือเปล่า น๊อตที่ใช้เป็นแบบไหน กันสนิมหรือเปล่า ขอบยางหารติดสวยหรือเปล่า ใช่ซิลิโคนอะไร มีรอยหรือเปล่า สีเข้ากับสีรถหรือเปล่า เนื้อละเอียดเหมือนสีรถหรือเปล่า
    • Sensor ถอยหลัง ทดสอบว่าวัดการถอยหลังยังไง
    • เบาะหนัง สีตามที่เราต้งการหรือเปล่า ตะเข็บ ติดเรียบเนียนหรือเปล่า
9.     ทำสัญญาซื้อขาย หรือสัญญารับรถ ตราบใดที่เรายังไม่เซ็นรับรถ เราก็เหมือนพระเจ้า แต่เมื่อไรก็ตามเราเซ็นรับรถแล้วและเราเอารถออกจากศูนย์ เราเหมือนยาจกทันที ก่อนเว็นควร 
  • รถสวยงามอย่างที่เราต้องการหรือเปล่า ใช่รุ่นที่เราต้องการหรือเปล่า ไม่ใช่มาจากโรงงานอีกรุ่น มาแต่งเป็นอีกรุ่นที่เราต้องการ มันไม่สมควร
  • ตรวจตามข้อ อีกรอบ เอาหมายเลขเครื่องมาดูเลยครับว่าหมายเลขเดียวกับที่เราตรวจมาแล้วหรือเปล่า
  • ตรวจดูการติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งเสริมตามข้อ 8
  • ของแถมครบหรือเปล่า ไม่ครบรอเซ็นรับวันหลัง
  • น้ำมันเต็มถังหรือเปล่า
  • เอกสารต่างๆครบหรือเปล่าเช่น 
    • เอกสารประกันหรือใบเสร็จ
    • พ.ร.บ. หรือใบเสร็จ
    • ใบเสร็จค่ามันจำป้ายแดง+สมุดคู่มือป้ายแดง
    • ป้ายแดงของแท้หรือเปล่า ต้องมีตรา ขส....
    • เอกสารติดตั้งฟิล์ม และรับประกันฟิล์ม
    • เอกสารการรับประกันอุปกรณ์รถหรือ Warranty Bosket ที่มีชื่อเราโดยไม่มีรอยลบ ขีด เปลี่ยนแปลงข้อมูล
    • คู่มือรถ
    • เอกสารเซ็นต์เตรียมจดทะเบียน จะได้ป้ายขาวเมื่อไร เลือกเลขทะเบียนได้หรือเปล่า หรือต้องติดต่อกับขนส่งเอง
10. ถ้าครบทุกอย่าง ตามที่กล่าวมา ก็รับรถไปได้เลยครับ
ขอบคุณ http://chaiwitr.exteen.com/